หน้าเว็บ

วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2561

แหล่งโบราณคดีโนนวัด

แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด คือแหล่งโบราณที่มีหลุมขุดค้นทางโบราณคดีที่ใหญ่ที่สุด และมีความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมที่ยาวนานที่สุดในประเทศไทย ณ เวลานี้ นับได้ตั้งแต่ยุคหินใหม่ สำริด เหล็ก เรื่อยมากระทั่งยุคปัจจุบัน กว่า 200 ชั่วอายุคน ตัวแหล่งขุดค้นตั้งอยู่ในเขตตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ภายในได้มีขุดพบหลุมศพ กระดูกมนุษย์ เครื่องประดับ และไหโบราณลวดลายงดงาม ซึ่งมีอายุอานามใกล้เคียงกับแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงที่จังหวัดอุดรธานี คือประมาณ 4,000 ปี และในอนาคตจะมีการสนับสนุนให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกอีกด้วย

ที่มา : https://th.wikipedia.org/

ประวัติ
โครงการศึกษาวิจัย “The Development of An Iron Age Chiefdom : Phase Twor” เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ได้รับอนุญาตจากภารกิจการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้เข้ามาศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดีในประเทศ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร และมหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งดำเนินการระหว่าง พ.ศ. 2538 ถึง 2542 ในบริเวณบ้านโนนวัด ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อศึกษาเรื่องราวของคนในประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะพัฒนาเข้าสู่อารยธรรมอย่างแท้จริงในช่วงคริสตกาล สาเหตุที่เลือกศึกษาในบริเวณนี้ เนื่องจากปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า มีอารยธรรมเขมรโบราณที่เก่าแก่ คือ ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมวัน และปราสาทหินพนมรุ้ง อันเป็นถิ่นกำเนิดของกษัตริย์ที่สำคัญของราชวงศ์หนึ่งของเขมรโบราณ คือ มหิธรปุระ และหลังจากโครงการศึกษาวิจัย : The Development of An Iron Age Chiefdom : Phase Two สิ้นสุดโครงการลง และได้ข้อมูลในปริมาณมาก ดร.ไนเจล ชาง นักโบราณคดี จากมหาวิทยาลัยเจมส์คุกประเทศออสเตรเลีย จึงสนใจเข้ามาศึกษาวิจัยการเปลี่ยนแปลงของสังคมลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน Environment Change and Society before Angkor : Ban Non Wat and the upper Mun River Catchment in Prehistory เพื่อเป็นการค้นคว้าเพิ่มเติมในส่วนของวิถีชีวิตในรอบ 5,000 ปี การแก้ปัญหาสภาวะแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนน้ำ และปัญหาน้ำท่วม โดยเริ่มจากการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของสังคมชาวนาสมัยแรกสุดในบริเวณนี้ ต่อด้วยการเข้ามาของเทคโนโลยีการใช้โลหะเป็นครั้งแรกๆ จากภายนอก คือ การใช้ทองแดง สำริด และเหล็ก จากนั้นจึงมีการเกิดขึ้นของสังคมแบบรัฐ มีผู้นำของสังคม ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับอารยธรรมทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทยและอายธรรมแห่งเมืองพระนครในประเทศกัมพูชาในระยะเวลาต่อมา

การขุดค้นทางโบราณคดี

ที่มา : http://m.matichon.co.th

โดย ศาสตราจารย์ชาร์ล ไฮแอม จากมหาวิทยาลัยโอทาโก นิวซีแลนด์นครวัดเป็นหลักฐานที่ดียิ่งในการแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของ อาณาจักรเขมรได้เป็นอย่างดี ในอดีตการศึกษาร่องรอย อารยธรรมของเขมรไม่สามารถดำเนินการได้ในประเทศกัมพูชาด้วยปัญหาทางการเมือง นักวิจัยจึงได้เข้ามาศึกษาแหล่งโบราณคดีเนินอุโลก และบ้านโนนวัด จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีในยุคเดียวกันซึ่งได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมเขมร โดยได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากรให้เข้ามาขุดค้นแหล่งโบราณคดีดังกล่าว จากการขุดค้นในครั้งนั้นทำให้ทราบว่าแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัดเป็นการตั้งรกราก ของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านโนนวัด จังหวัดนครราชสีมา แหล่งขุดค้นนี้มีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นที่ตั้งรกรากของสังคมเกษตรกรรมสังคมแรกมีอายุราว 2,100 – 1,250 ปี ก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ยุคสัมฤทธิ์ ยุคเหล็ก จนถึงยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานคล้ายบ้านเชียง แต่สิ่งที่ขุดค้นได้จากแหล่งประวัติศาสตร์บ้านโนนวัดมีมากมายกว่าบ้านเชียง และยังคงสภาพความสมบูรณ์ไว้ได้ มีประโยชน์ต่อการศึกษาความต่อเนี่องของวัฒนธรรมโบราณ ซึ่งยังไม่เคยปรากฏขึ้นในประเทศไทย

ที่มา : https://www.gotoknow.org

โดย ดร.ไนเจล ชาง มหาวิทยาลัยเจมส์คุก ประเทศ ออสเตรเลียเนื่องจากนักวิจัยได้ร่วมขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ได้ค้นพบข้อมูลก่อนประวัติศาสตร์มากมายที่แสดงถึงวิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปในรอบ 5,000 ปี
นักวิจัยจึงประสงค์จะขุดค้นเพิ่มเติมอย่างละเอียดที่บ้านโนนวัด และสำรวจชั้นดินในอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดนครราชสีมาโดยมีประเด็นที่จะศึกษาดังนี้
1.ขุดค้นแหล่งโบราณคดีแห่งใหม่ที่บ้านโนนวัด เพื่อหาหลักฐานเกี่ยวกับอาชีพและประเพณีการฝังศพในยุคต่าง ๆ
2.สำรวจ และศึกษาวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่รับน้ำที่อยู่เหนือบ้านโนนวัด ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในอดีตของบ้านโนนวัด
3.สร้างฐานข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับบ้านโนนวัดซึ่งกรมศิลปากรสามารถเข้าไปใช้ข้อมูลได้
4.สำรวจและขุดค้นชั้นดิน (columns of soil) เพื่อ วิเคราะห์วิวัฒนาการของพืชและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในหมื่นปี ของบริเวณต่าง ๆ ในพื้นที่ชุ่มน้ำในจังหวัดนครราชสีมาเพื่อเทียบเคียงกับบ้านโนนวัด
หลักฐานทางโบราณคดีที่พบจำนวนมากในแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ มีอายุอยู่ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ครบทั้ง 4 ช่วง คือ ยุคหินใหม่ ยุคสำริด และยุคเหล็ก ต่อเนื่องจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ คือ ทวารวดี เขมร อยุธยา รัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน

ลำดับชั้น
1.ยุคหินใหม่ อยู่ในช่วงอายุประมาณ 3,000 – 3,700 ปี มาแล้ว
2.ยุคสัมฤทธิ์ มีอายุระหว่าง 2,500 – 3,000 ปีมาแล้ว
3.ยุคเหล็ก มีอายุประมาณ 1,500 – 2,500 ปีมาแล้ว

หลักฐานที่พบ


 ที่มา : https://th.wikipedia.org/

1. เมล็ดข้าวที่ผ่านการเผาพบในภาชนะดินเผา

ที่มา : https://th.wikipedia.org/

2. โครงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่ ที่นักโบราณคดีทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ เป็นครั้งแรกที่โครงกระดูกมนุษย์ถูกบรรจุในภาชนะดินเผา

ที่มา : https://th.wikipedia.org/

3. โครงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่ อยู่ในลักษณะนอนงอเข่า ชันเข่า

ที่มา : https://th.wikipedia.org/

4. โครงกระดูกมนุษย์ยุคสำริด คาดว่าน่าจะเป็นผู้นำชุมชน ดูจากสิ่งที่ประดับไว้กับโครงกระดูกจำนวนมาก

ที่มา : https://th.wikipedia.org/

5. ภาชนะดินเผาที่ค้นพบ ณ บ้านโนนวัด มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ บ่งบอกถึงความชำนาญด้านงานช่าง

อ้างอิง

บ้านโนนวัด .(2550).แหล่งโบราณคดีโนนวัด วันที่สืบค้น 27 มีนาคม 2561 ที่มา : http://nonwat.igetweb.com/index.php?mo=3&art=280368

แหล่งโบราณคดีเขาขนาบน้ำ

แหล่งโบราณคดีเขาขนาบน้ำ

ที่มา : http://www.bansansuk.com

สถานที่ตั้ง เป็นภูเขาคู่หนึ่งตั้งอยู่ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแม่น้ำกระบี่ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

ประวัติความเป็นมา
เขาขนาบน้ำนับเป็นภูเขาที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกระบี่ เพราะเมื่อเดินทางเข้าถึงตัวจังหวัด ภาพที่งดงามประทับใจ คือภาพเขาขนาบน้ำเคียงคู่ หันหน้าเข้าหากันริมแม่น้ำกระบี่ มีหลักฐานยืนยันว่า เขาขนาบน้ำเคยเป็นที่พักอาศัยของผู้คนมาหลายยุคสมัยหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงยุคประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ ที่ ๒

ลักษณะทั่วไป
บริเวณหลุมขุดทดลองเป็นเพิงผาขนาด ๒๓ x ๗ เมตร ตั้งอยู่ทางตอนล่างของเขาขนาบน้ำติดกับแม่น้ำกระบี่ พื้นผิวของแหล่งที่ขุดทดลอง อยู่เหนือระดับน้ำขณะน้ำขึ้นประมาณ ๑.๕๐ เมตร และได้ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าเศษหินที่หลุดออกมาเป็นสะเก็ดตอนหน้าของบริเวณ ที่ขุดทดลองซึ่งมีอยู่ตลอดแนวที่ระดับน้ำท่วมถึงนั้น ยังคงมีการกัดเซาะอยู่เมื่อระดับน้ำสูงขึ้น ระยะสูงจากส่วนล่างของผนังเพิงผา ๕ เมตร มีรอยตัดอันเนื่องมาจากการซัดของคลื่นซึ่งแสดงให้เห็นว่าในช่วงหนึ่งในอดีต ระดับน้ำทะเลสูงกว่าปัจจุบันประมาณ ๕ เมตร ซึ่งดร. ไพบูลย์ ประโมจนีย์ นักธรณีวิทยาและผู้เชี่ยวชาญทางธรณีวิทยาเขตคาบสมุทรไทย ได้เปรียบเทียบรอยเซาะจากทะเลในถ้ำหลายแห่งบริเวณนั้น ได้ให้ข้อคิดว่า รอยตัดนั้นดูค่อนข้างใหม่ น่าจะมี
อายุตรงกับสมัยไพลสโตซีน ตอนกลาง ในช่วงที่ระดับน้ำทะเลครั้งสุดท้ายขึ้นสูงสุด คือ อายุระหว่าง ๖,๐๐๐ - ๕,๐๐๐ ปี
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ศาสตราจารย์ ดร. ดักลาส แอนเดอร์สัน จากมหาวิทยาลัยบราวด์ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับ ดร. พรชัย สุจิตต์ และดร. วรรณี วิบูลย์สวัสดิ์ แอนเดอร์สัน (นักมานุษยวิทยา) ได้ทำการขุดหลุมทดลอง เพื่อสำรวจทางโบราณคดี พบหลักฐานซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นแหล่งที่เคยมีมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ อาศัยอยู่ก่อน

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ภายใต้โครงการศึกษา แหล่งโบราณคดีช่วงปลายยุคไพลสโตชีน - โฮโลชีน โดยมี ดร. พิสุทธิ วิจารสรณ์ ผู้เชี่ยวชาญสำรวจจำแนกดิน กรมพัฒนาที่ดินเป็นหัวหน้าโครงการร่วมกับรศ.ดร.ไพบูลย์ ประโมจนีย์ นักธรณีวิทยาผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศ.ดร.ดักลาส แอนเดอร์สัน และรศ.ดร.วรรณี วิบูลย์สวัสดิ์ แอนเดอร์สัน นักมานุษยวิทยา ได้รับเงินทุนจากรัฐบาลไทย ให้ทำการขุดค้นที่ถ้ำเขาขนาบน้ำ บริเวณทางซ้ายมือของหลุมทดลองที่เคยขุด เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เพื่อศึกษาการปรับตัวของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยอยู่ริมทะเลเมื่อ ประมาณ ๖,๐๐๐-๔,๐๐๐ ปี ซึ่งการขุดค้นจะอยู่ในความควบคุมดูแลของกรมศิลปากรและศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด กระบี่

หลักฐานที่พบ
บริเวณหลุมขุดค้นที่ทำการขุด เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ พบหลักฐานหลายชิ้นที่แสดงว่าเคยมีมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อาศัยอยู่เป็นต้น ว่า เปลือกหอย กระดูกสัตว์ ที่มีร่องรอยการเผากินเป็นอาหาร ฟันสัตว์ เขี้ยวสัตว์ เศษถ่าน เศษภาชนะดินเผาประเภทหม้อสามขา กระดูกขามนุษย์ ฯลฯ



ที่มา : http://www.krabiall.com

หลักฐานเหล่านี้ ศ. ดร. ดักลาส แอนเดอร์สัน จะทำการศึกษาวิจัยในประเทศไทยให้เสร็จสิ้นแล้วส่งมอบให้กรมศิลปากร เป็นผู้เก็บรักษาไว้ ยกเว้นผงถ่าน ซึ่งจำเป็นต้องนำไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อทำการทดสอบด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า "Radio cabon ๑๔ " เพื่อหาอายุโดยประมาณของผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณแหล่งโบราณคดีเขาขนาบน้ำที่ ทำการขุดค้นนี้
นอกจากนี้ ทีมงานที่ทำการขุดค้นได้เว้นพื้นที่ใกล้เคียงไว้เพื่อให้นักโบราณคดีในยุค ต่อ ๆ ไป ที่สนใจและมีเครื่องมือที่ทันสมัยมากขึ้นได้ทำการขุดค้นหาหลักฐานที่ยังคง หลงเหลืออยู่เพื่อทำการศึกษาวิจัยต่อไปในอนาคต

อ้างอิง
โอเพ่นเบส.(2550).สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561 ที่มา http://www.openbase.in.th
กระบี่ออล.(2552).สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561 ที่มาhttp://www.krabiall.com/stories/krabi-stories12.php

วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

โบราณคดีในประเทศไทย

โบราณคดีในประเทศไทย


ที่มา : https://travel.thaiza.com/

ในศัพทานุกรมโบราณคดีของสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร (2550)  ให้ความหมายของ “โบราณคดี” ว่า โบราณคดี คือ วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเรื่องราวและพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีต โดยศึกษาจากหลักฐานต่างๆที่พบบนดิน ใต้ดิน และใต้น้ำ ได้แก่ โบราณวัตถุ และโบราณสถาน แล้วนำหลักฐานเหล่านี้มาวิเคราะห์วิจัยและแปลความเพื่อบอกเล่าเรื่องราวในอดีต โดยมีระเบียบวิธีการศึกษา กระบวนการศึกษา และเทคนิควิธีเป็นของตนเอง ทั้งเทคนิคภาคสนาม เช่น การสำรวจทางโบราณคดี การขุดค้นทางโบราณคดี เป็นต้น และเทคนิคในการวิเคราะห์วิจัย

ประเทศไทยยังขาดแคลนนักโบราณคดี ทำให้การดูแลไม่ทั่วถึง ปัจจุบันพบว่าสำนักโบราณคดีแต่ละแห่ง มีนักโบราณคดี 2 - 3 คน การดูแลไม่ทั่วถึงทำให้มีปัญหากลุ่มผู้ลักลอบขุดโบราณวัตถุ ส่งขายทั้งไทยและต่างประเทศ ขณะที่การศึกษาด้านโบราณคดีในขณะนี้ มีแห่งเดียวที่มหาวิทยาลัยศิลปากร แม้จำนวนนักศึกษายังไม่ลดลง แต่อัตรา บรรจุในแต่ละปีของกรมศิลปากรนั้นน้อยมาก

เป้าหมายของโบราณคดี

เป้าหมายหลักของการศึกษาทางโบราณคดีมี 4 ประการ (Fagan 1988 ; สว่าง เลิศฤทธิ์ 2547 : 3-4) คือ
1. เพื่อเปิดเผยลักษณะต่างๆของอดีต นั่นคือ การพรรณนาและจัดจำแนกหลักฐานทางกายภาพ เช่น แหล่งโบราณคดี และโบราณวัตถุที่พบ ออกเป็นหมวดหมู่ โดยพิจารณาในบริบทของสถานที่และเวลา เพื่อจะสามารถพรรณนาประวัติวัฒนธรรมของมนุษย์
2. เพื่อค้นหาบทบาทหน้าที่ (function) ของหลักฐานต่างๆ เพื่อที่จะสร้างภาพพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีต โดยวิเคราะห์จากรูปร่างหรือรูปทรงสัณฐาน และความสัมพันธ์ระหว่างหลักฐานที่พบ หรือกล่าวสั้นๆได้ว่า เป็นการจำลองภาพวิถีชีวิตของมนุษย์ในอดีตขึ้นมาใหม่ (reconstruct) นั่นเอง
3. เพื่อค้นหาและเข้าใจกระบวนการทางวัฒนธรรมว่าเกิดขึ้น ดำเนินไป และเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาอย่างไร และด้วยสาเหตุใด
4. เพื่อเข้าใจความหมายทางวัฒนธรรมภายใต้บริบทเชิงสัญลักษณ์ คุณค่า และโลกทัศน์ต่างๆ 
บริบททางโบราณคดี คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่ง เวลา และสถานที่ ซึ่งมีผลและเกี่ยวข้องกับหลักฐานทางโบราณคดีนั้นๆ

ลักษณะของบริบททางโบราณคดี สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

1. บริบทแบบปฐมภูมิ (primary context) คือ บริบทเดิมของหลักฐานทางโบราณคดี โดยตำแหน่งของหลักฐาน และสิ่งล้อมรอบหลักฐานนั้นๆ ปราศจากขั้นตอนการถูกรบกวนตั้งแต่เดิมที่มีการทับถม
2. บริบทแบบทุติยภูมิ (secondary context) คือ บริบทเดิมของหลักฐานทางโบราณคดี โดยตำแหน่งของหลักฐานและสิ่งล้อมรอบหลักฐานนั้นๆ ทั้งหมดหรือบางส่วน ถูกแปรเปลี่ยนหรือถูกรบกวนในสมัยหลัง อาจจะเกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์ก็ได้

ขุดค้นทางโบราณคดี

1. กระบวนการหรือกรรมวิธีการเก็บข้อมูลหรือการตรวจสอบทางโบราณคดี โดยการขุดหาวัตถุหลักฐานที่มีการทับถมในชั้นดิน เพื่อทำการศึกษา วิเคราะห์ สรุปเรื่องราว หรือการขุดค้นเพื่อตรวจสอบหรืออนุรักษ์ทางโบราณคดี
ในกรณีที่ขุดตรวจสอบศึกษาร่องรอยสถาปัตยกรรม เรียกว่า การขุดแต่งทางโบราณคดี
2. การขุดเพื่อค้นคว้าหาความรู้จากโบราณวัตถุ โบราณสถาน โดยหลักวิชาอันประกอบด้วยการขุดอย่างพินิจพิเคราะห์และจดบันทึกรายงานอย่างถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัยพฤติกรรมด้านต่างๆ ของมนุษย์ ที่เราเรียกว่าปนระวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
3. วิธีปฏิบัติงานขั้นตอนหนึ่งของการทำงานโบราณคดี ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยและบันทึกหลักฐานทางโบราณคดีที่ทับถมอยู่ใต้ชั้นดิน โดยการขุดค้นมีอยู่หลายเทคนิค แต่ละเทคนิคมีข้อเด่นและข้อด้อยแตกต่างกัน เช่น Open Area Excavation, Planum Method, Quardrant Method และ Wheeler Method

ตัวอย่างแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี


ที่มา : https://th.wikipedia.org

ร่องรอยของมนุษย์ในสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตและสร้างสังคม-วัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียงได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่ง ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้องค์การยูเนสโกจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก

ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา
ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา ของบ้านเชียงนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค ได้แก่
ภาชนะดินเผาสมัยต้น อายุ 5,600-3,000 ปี มีลายเชือกทาบ ซึ่งคาดกันว่าเป็นปอกัญชา ทั้งยังมีลายขูดขีด และมีการเขียนสีบ่า โดยพบวางคู่กับโครงกระดูก บางใบใช้บรรจุศพเด็ก
ภาชนะดินเผาสมัยกลาง อายุ 3,000 ปี-2,300 ปี สมัยนี้เป็นสมัยที่เริ่มมีการขีดทาสีแดง
ภาชนะดินเผาสมัยปลาย อายุ 2,300 ปี-1,800 ปี เป็นยุคที่มีลวดลายที่สวยงามที่สุด ลวดลายพิสดาร สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมที่สงบสุข ก่อนที่จะกลายมาเป็นการเคลือบน้ำโคลนสีแดงขัดมัน


ที่มา : https://th.wikipedia.org/

แหล่งโบราณคดีแก่งตาน 
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านในเขต ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยโบราณวัตถุที่ค้นพบได้แก่เศษภาชนะดินเผาผิวขัดมัน และผิวเรียบ มีลายเชือกทาบเส้นเล็กและเส้นใหญ่ ลายประทับตาข่าย และไม่มีลาย ชิ้นส่วนเครื่องมือหินขัด ก้อนดินเผาไฟ เครื่องถ้วยลายครามจีน เศษไห เนื้อดินสีเทาแบบไม่เคลือบ สันนิษฐานว่าบริเวณนี้เคยเป็นที่พักอาศัยชั่วคราวของกลุ่มชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ที่เดินทางมาโดยทางน้ำ และเดินเท้ามาตามริมฝั่งแม่น้ำน่าน ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓ (สมัยรัชกาลที่5)

สิ่งที่ค้นพบ
เศษภาชนะดินเผาผิวขัดมัน
เศษภาชนะดินเผาผิวเรียบ
เศษภาชนะดินเผาผิวเรียบ ลายเชือกทาบเส้นเล็ก และเส้นใหญ่
เศษภาชนะดินเผา ลายประทับตาข่าย
เศษภาชนะดินเผาไม่มีลาย
เครื่องมือหินขัด
ก้อนดินที่ใช้เผาไฟสมัยโบราณ
เครื่องถ้วยชามครามจีน
เศษไห เนื้อดินสีเทาแบบไม่เคลือบ


ที่มา : http://www.thaiheritage.net/

อ้างอิง
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตสถาน, 2556 : 689.
ราชบัณฑิตยสถาน. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ : 3 เมษายน 2555. แหล่งที่มา http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php
สว่าง เลิศฤทธิ์ (ธนิก เลิศชาญฤทธ์). โบราณคดี : แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2547.

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.

วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

นักโบราณคดี

นักโบราณคดี


ที่มา : https://scoop.mthai.com/

นักโบราณคดี มีหน้าที่สำรวจขุดค้นโบราณสถานหรือวัตถุ เพื่อศึกษาวิจัยเรื่องราวในอดีต และแหล่งวัฒนธรรมของมนุษย์ในสมัยโบราณ ทำการสำรวจและขุดค้น แหล่งที่คาดว่าจะพบสถานที่หรือวัตถุโบราณ ทำการวิจัยโบราณศิลปวัตถุ ที่ได้จากการขุดค้นหรือขุดแต่งโบราณสถาน ศึกษา หาหลักฐานเพื่ออ้างอิง หรือเปรียบเทียบ และสรุปถึงยุคสมัยของศิลปวัตถุชิ้นนั้น ๆ ทำการบันทึกการ ค้นพบและผลการวิเคราะห์

หน้าที่ของนักโบราณคดี
1. สำรวจและขุดค้นเพื่อหาหลักฐานทางโบราณคดี เช่น ร่องรอยการอยู่อาศัย วัฒนธรรมของมนุษย์ จากโครงกระดูก เศษภาชนะดินเผา ฯลฯ
2. นำหลักฐานทางโบราณคดีมาศึกษาวิเคราะห์ และตีความ โดยประมวลความรู้จากหลากหลายสาขาทั้ง วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศิลปะ มานุษยวิทยา ฯลฯ เพื่อให้ทราบถึงเรื่องราวในอดีตของมนุษย์
3. เผยแพร่ข้อมูลความรู้ทางวิชาการด้านโบราณคดี ทั้งการเขียนเป็นรายงานการสำรวจ การขุดค้น บทความ ทางวิชาการ จัดแสดงเป็นนิทรรศการหรือจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ 

ที่มา : https://www.thairath.co.th

การขุดค้นทางโบราณคดี
1. กระบวนการหรือกรรมวิธีการเก็บข้อมูลหรือการตรวจสอบทางโบราณคดี โดยการขุดหาวัตถุหลักฐานที่มีการทับถมในชั้นดิน เพื่อทำการศึกษา วิเคราะห์ สรุปเรื่องราว หรือการขุดค้นเพื่อตรวจสอบหรืออนุรักษ์ทางโบราณคดี
ในกรณีที่ขุดตรวจสอบศึกษาร่องรอยสถาปัตยกรรม เรียกว่า การขุดแต่งทางโบราณคดี
2. การขุดเพื่อค้นคว้าหาความรู้จากโบราณวัตถุ โบราณสถาน โดยหลักวิชาอันประกอบด้วยการขุดอย่างพินิจพิเคราะห์และจดบันทึกรายงานอย่างถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัยพฤติกรรมด้านต่างๆ ของมนุษย์ ที่เราเรียกว่าปนระวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
3. วิธีปฏิบัติงานขั้นตอนหนึ่งของการทำงานโบราณคดี ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยและบันทึกหลักฐานทางโบราณคดีที่ทับถมอยู่ใต้ชั้นดิน โดยการขุดค้นมีอยู่หลายเทคนิค แต่ละเทคนิคมีข้อเด่นและข้อด้อยแตกต่างกัน เช่น Open Area Excavation, Planum Method, Quardrant Method และ Wheeler Method

แนวทางการก้าวมาเป็นนักโบราณคดี
- ความก้าวหน้าในการทำงาน
สามารถที่จะรับราชการในกรมศิลปากรได้ รวมไปถึงการเป็นนักขุดค้นทางโบราณคดี ค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับโบราณคดี ทำงานในพิพิธภัณฑ์ เป็นมัคคุเทศก์ เป็นอาจารย์สอนประวัติศาสตร์ ทำงานบริษัทเอกชน ประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือศึกษาต่อระดับปริญญาโท-เอก ทั้งในและนอกประเทศ

ประเทศไทยยังขาดแคลนนักโบราณคดี ทำให้การดูแลไม่ทั่วถึง ปัจจุบันพบว่าสำนักโบราณคดีแต่ละแห่ง มีนักโบราณคดี 2 - 3 คน การดูแลไม่ทั่วถึงทำให้มีปัญหากลุ่มผู้ลักลอบขุดโบราณวัตถุ ส่งขายทั้งไทยและต่างประเทศ ขณะที่การศึกษาด้านโบราณคดีในขณะนี้ มีแห่งเดียวที่มหาวิทยาลัยศิลปากร แม้จำนวนนักศึกษายังไม่ลดลง แต่อัตรา บรรจุในแต่ละปีของกรมศิลปากรนั้นน้อยมาก
อัตราเงินเดือนเฉลี่ยของนักโบราณคดี อยู่ที่ประมาณ 19,500 - 29,500 บาท

ที่มา : http://campus.sanook.com

- คณะ/สาขาที่ต้องเรียน
คณะ/สาขา มหาวิทยาลัยที่เปิดคณะโบราณคดี สาขาวิชาโบราณคดี
คณะโบราณคดี สาขาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะโบราณคดี สาขาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  
คณะโบราณคดี สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.archae.su.ac.th/

นักโบราณคดีในประเทศไทย

ที่มา : https://th.wikipedia.org/

นายไกรศรี นิมมานเหมินท์ เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภา เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในวิทยาการหลายด้าน ได้ทำการสำรวจค้นคว้าและเขียนบทความเผยแพร่ ทั้งด้านโบราณคดี ด้านประวัติศาสตร์และมานุษยวิทยา เป็นผู้ค้นพบเตาสังคโลกโบราณที่อำเภอสันกำแพง อำเภอสันทราย และอีกหลายแห่งในภาคเหนือ เป็นผู้คนพบเอกสารใบลานที่สำคัญชิ้นหนึ่งที่มีข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายมังราย เป็นผู้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความเป็นอยู่ ภาษา วัฒนธรรมของคนเผ่าผีตองเหลือง ที่จังหวัดน่าน นอกจากนี้ยังเป็นผู้มีบทบาทในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของล้านนา โดยเฉพาะการจัดเลี้ยงแบบขันโตก

 ที่มา : https://th.wikipedia.org/

จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนักคิดด้านการเมือง นักประวัติศาสตร์ และนักภาษาศาสตร์ นับเป็นนักปราชญ์และนักปฏิวัติทางความคิดและวิชาการคนสำคัญของประเทศไทย จิตรเป็นนักวิชาการคนแรกๆ ที่กล้าถกเถียงและคัดค้านปราชญ์คนสำคัญ ด้วยวิธีคิดที่มีเหตุผลและลุ่มลึก มีความโดดเด่นจากผลงานการค้นคว้าทางวิชาการที่แปลกใหม่และลึกซึ้ง ขณะเดียวกันจิตรยังมีความคิดต่อต้านระบบเผด็จการและการใช้อำนาจกดขี่ของชนชั้นสูงมาโดยตลอด

ที่มา : https://th.wikipedia.org/

ศาสตราจารย์ ชิน อยู่ดี เป็นนักวิชาการด้านโบราณคดี ที่ทำหน้าที่ในการสำรวจทางด้านโบราณคดีในภาคต่างๆ ของประเทศไทย มีผลงานรายงานการขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ จำนวนมาก อาทิ ขุดค้นในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดราชบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2503-2505 ผลทำให้ทราบว่ามีคนก่อนประวัติศาสตร์ แต่สมัยหินเก่า สมัยหินกลาง สมัยหินใหม่และยุคโลหะอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดราชบุรี รวมทั้งควบคุมดูแลการบูรณะโบราณสถานที่จังหวัดสุโขทัย นครเมืองเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมืองกำแพงเพชร (พ.ศ. 2494-2512) ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และบริเวณเกาะใกล้เมือง เมื่อ พ.ศ. 2495-2504 กับดูแลการบูรณะปราสาทหินพนมรุ้ง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2517-2518 เป็นต้น ผลงานการขุดค้นต่าง ๆ มีผลต่อการส่งเสริมการศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี ที่มีผลต่อการศึกษาทางด้านสาขานี้มายุคต่อๆไป

ที่มา : https://th.wikipedia.org/

ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการด้านโบราณคดีและมานุษยวิทยาชาวไทย เจ้าของรางวัลวัฒนธรรมเอเชียฟูกูโอกะ ประจำปี พ.ศ. 2550 เป็นผู้ทำงานศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียงงานวิชาการ ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและมานุษยวิทยาไว้อย่างมากมาย และ เป็นบรรณาธิการนิตยสารเมืองโบราณ เป็นเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานสนับสนุนการวิจัย เป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เป็นที่ปรึกษามูลนิธิเล็กประไพ วิริยะพันธุ์

ที่มา : https://th.wikipedia.org/

ศาสตราจารย์ ร.ต.ท. แสง มนวิทูร  เป็นนักวิชาการด้านภาษาบาลีและสันสกฤตของ กรมศิลปากร และศาสตราจารย์พิเศษคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยรับหน้าที่ในการสอนภาษาสันสกฤต บาลี และศาสนา ให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร รวมทั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีผลงานแปลจากภาษาบาลีและสันสกฤตที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นจำนวนมาก อาทิ ชินกาลมาลีปกรณ์ ศาสนวงศ์ สิหิงคนิทาน รัตนพิมพวงศ์ รสวาหินี นาฏยศาสตร์ คัมภีร์ลลิตวิสตระ และภควัทคีตา เป็นต้น

อ้างอิง
สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.
เบญจวรรณ บุญโทแสง. พัฒนาการการปรับตัวทางการเมืองของกลุ่มอำนาจท้องถิ่นภายหลังการผนวกดินแดนของสยาม (พ.ศ. 2442-2547): กรณีศึกษาตระกูล ณ เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2550ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ". ราชกิจจานุเบกษา (ใน ไทย). เล่ม 125 (ตอนพิเศษ 102 ง): หน้า 7. 18 มิถุนายน 2551. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2560.




วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

หลักฐานทางโบราณคดี

หลักฐานทางโบราณคดี

ที่มา : https://www.bloggang.com/

หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในอดีต ทั้งหลักฐานที่มนุษย์ทำขึ้น หรือหลักฐานที่เป็นธรรมชาติซึ่งเกี่ยวข้องกับมนุษย์ในอดีต หลักฐานเหล่านี้ใช้ในการวิเคราะห์และตีความในการศึกษาวิจัยทางโบราณคดี
(สำนักโบราณคดี,2550)

วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

Introduction

Welcome you all, guys to my blog.
This blog is about archeological that i've learnt. I'll do my best for give you all of mine that i have. I don't know why that i'm writting this in English so please don't spam or report me. Luv ya.
XOXO