หน้าเว็บ

วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2561

แหล่งโบราณคดีโนนวัด

แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด คือแหล่งโบราณที่มีหลุมขุดค้นทางโบราณคดีที่ใหญ่ที่สุด และมีความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมที่ยาวนานที่สุดในประเทศไทย ณ เวลานี้ นับได้ตั้งแต่ยุคหินใหม่ สำริด เหล็ก เรื่อยมากระทั่งยุคปัจจุบัน กว่า 200 ชั่วอายุคน ตัวแหล่งขุดค้นตั้งอยู่ในเขตตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ภายในได้มีขุดพบหลุมศพ กระดูกมนุษย์ เครื่องประดับ และไหโบราณลวดลายงดงาม ซึ่งมีอายุอานามใกล้เคียงกับแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงที่จังหวัดอุดรธานี คือประมาณ 4,000 ปี และในอนาคตจะมีการสนับสนุนให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกอีกด้วย

ที่มา : https://th.wikipedia.org/

ประวัติ
โครงการศึกษาวิจัย “The Development of An Iron Age Chiefdom : Phase Twor” เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ได้รับอนุญาตจากภารกิจการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้เข้ามาศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดีในประเทศ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร และมหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งดำเนินการระหว่าง พ.ศ. 2538 ถึง 2542 ในบริเวณบ้านโนนวัด ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อศึกษาเรื่องราวของคนในประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะพัฒนาเข้าสู่อารยธรรมอย่างแท้จริงในช่วงคริสตกาล สาเหตุที่เลือกศึกษาในบริเวณนี้ เนื่องจากปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า มีอารยธรรมเขมรโบราณที่เก่าแก่ คือ ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมวัน และปราสาทหินพนมรุ้ง อันเป็นถิ่นกำเนิดของกษัตริย์ที่สำคัญของราชวงศ์หนึ่งของเขมรโบราณ คือ มหิธรปุระ และหลังจากโครงการศึกษาวิจัย : The Development of An Iron Age Chiefdom : Phase Two สิ้นสุดโครงการลง และได้ข้อมูลในปริมาณมาก ดร.ไนเจล ชาง นักโบราณคดี จากมหาวิทยาลัยเจมส์คุกประเทศออสเตรเลีย จึงสนใจเข้ามาศึกษาวิจัยการเปลี่ยนแปลงของสังคมลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน Environment Change and Society before Angkor : Ban Non Wat and the upper Mun River Catchment in Prehistory เพื่อเป็นการค้นคว้าเพิ่มเติมในส่วนของวิถีชีวิตในรอบ 5,000 ปี การแก้ปัญหาสภาวะแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนน้ำ และปัญหาน้ำท่วม โดยเริ่มจากการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของสังคมชาวนาสมัยแรกสุดในบริเวณนี้ ต่อด้วยการเข้ามาของเทคโนโลยีการใช้โลหะเป็นครั้งแรกๆ จากภายนอก คือ การใช้ทองแดง สำริด และเหล็ก จากนั้นจึงมีการเกิดขึ้นของสังคมแบบรัฐ มีผู้นำของสังคม ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับอารยธรรมทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทยและอายธรรมแห่งเมืองพระนครในประเทศกัมพูชาในระยะเวลาต่อมา

การขุดค้นทางโบราณคดี

ที่มา : http://m.matichon.co.th

โดย ศาสตราจารย์ชาร์ล ไฮแอม จากมหาวิทยาลัยโอทาโก นิวซีแลนด์นครวัดเป็นหลักฐานที่ดียิ่งในการแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของ อาณาจักรเขมรได้เป็นอย่างดี ในอดีตการศึกษาร่องรอย อารยธรรมของเขมรไม่สามารถดำเนินการได้ในประเทศกัมพูชาด้วยปัญหาทางการเมือง นักวิจัยจึงได้เข้ามาศึกษาแหล่งโบราณคดีเนินอุโลก และบ้านโนนวัด จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีในยุคเดียวกันซึ่งได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมเขมร โดยได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากรให้เข้ามาขุดค้นแหล่งโบราณคดีดังกล่าว จากการขุดค้นในครั้งนั้นทำให้ทราบว่าแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัดเป็นการตั้งรกราก ของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านโนนวัด จังหวัดนครราชสีมา แหล่งขุดค้นนี้มีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นที่ตั้งรกรากของสังคมเกษตรกรรมสังคมแรกมีอายุราว 2,100 – 1,250 ปี ก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ยุคสัมฤทธิ์ ยุคเหล็ก จนถึงยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานคล้ายบ้านเชียง แต่สิ่งที่ขุดค้นได้จากแหล่งประวัติศาสตร์บ้านโนนวัดมีมากมายกว่าบ้านเชียง และยังคงสภาพความสมบูรณ์ไว้ได้ มีประโยชน์ต่อการศึกษาความต่อเนี่องของวัฒนธรรมโบราณ ซึ่งยังไม่เคยปรากฏขึ้นในประเทศไทย

ที่มา : https://www.gotoknow.org

โดย ดร.ไนเจล ชาง มหาวิทยาลัยเจมส์คุก ประเทศ ออสเตรเลียเนื่องจากนักวิจัยได้ร่วมขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ได้ค้นพบข้อมูลก่อนประวัติศาสตร์มากมายที่แสดงถึงวิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปในรอบ 5,000 ปี
นักวิจัยจึงประสงค์จะขุดค้นเพิ่มเติมอย่างละเอียดที่บ้านโนนวัด และสำรวจชั้นดินในอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดนครราชสีมาโดยมีประเด็นที่จะศึกษาดังนี้
1.ขุดค้นแหล่งโบราณคดีแห่งใหม่ที่บ้านโนนวัด เพื่อหาหลักฐานเกี่ยวกับอาชีพและประเพณีการฝังศพในยุคต่าง ๆ
2.สำรวจ และศึกษาวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่รับน้ำที่อยู่เหนือบ้านโนนวัด ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในอดีตของบ้านโนนวัด
3.สร้างฐานข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับบ้านโนนวัดซึ่งกรมศิลปากรสามารถเข้าไปใช้ข้อมูลได้
4.สำรวจและขุดค้นชั้นดิน (columns of soil) เพื่อ วิเคราะห์วิวัฒนาการของพืชและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในหมื่นปี ของบริเวณต่าง ๆ ในพื้นที่ชุ่มน้ำในจังหวัดนครราชสีมาเพื่อเทียบเคียงกับบ้านโนนวัด
หลักฐานทางโบราณคดีที่พบจำนวนมากในแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ มีอายุอยู่ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ครบทั้ง 4 ช่วง คือ ยุคหินใหม่ ยุคสำริด และยุคเหล็ก ต่อเนื่องจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ คือ ทวารวดี เขมร อยุธยา รัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน

ลำดับชั้น
1.ยุคหินใหม่ อยู่ในช่วงอายุประมาณ 3,000 – 3,700 ปี มาแล้ว
2.ยุคสัมฤทธิ์ มีอายุระหว่าง 2,500 – 3,000 ปีมาแล้ว
3.ยุคเหล็ก มีอายุประมาณ 1,500 – 2,500 ปีมาแล้ว

หลักฐานที่พบ


 ที่มา : https://th.wikipedia.org/

1. เมล็ดข้าวที่ผ่านการเผาพบในภาชนะดินเผา

ที่มา : https://th.wikipedia.org/

2. โครงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่ ที่นักโบราณคดีทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ เป็นครั้งแรกที่โครงกระดูกมนุษย์ถูกบรรจุในภาชนะดินเผา

ที่มา : https://th.wikipedia.org/

3. โครงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่ อยู่ในลักษณะนอนงอเข่า ชันเข่า

ที่มา : https://th.wikipedia.org/

4. โครงกระดูกมนุษย์ยุคสำริด คาดว่าน่าจะเป็นผู้นำชุมชน ดูจากสิ่งที่ประดับไว้กับโครงกระดูกจำนวนมาก

ที่มา : https://th.wikipedia.org/

5. ภาชนะดินเผาที่ค้นพบ ณ บ้านโนนวัด มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ บ่งบอกถึงความชำนาญด้านงานช่าง

อ้างอิง

บ้านโนนวัด .(2550).แหล่งโบราณคดีโนนวัด วันที่สืบค้น 27 มีนาคม 2561 ที่มา : http://nonwat.igetweb.com/index.php?mo=3&art=280368

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น